viewerbangkok

2010/01/24

วัดพระแก้ว๓



นอกจากพระอุโบสถที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแล้วภายในยังมีพระมณฑปและวิหารที่สวยงามอีกหลายหลัง รวมทั้งศาลาที่รายรอบพระอุโบสถ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมความงดงามอย่างมิรู้เบื่อดังนี้คือ
๑.หอพระมณเฑียรธรรม อันเป็นที่ไว้พระไตรปิฎก ซึ่งภายในมีตู้ประดับมุกขนาดใหญ่สำหรับเก็บพระไตรปิฎกฝีมืองดงามอีกหลายตู้
๒.ปราสาทพระเทพบิดร เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระเทพบิดร ซึ่งเดิมเป็นเทวรูป ประดิษฐานอยู่ที่มุขเด็จพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา เรียกกันในสมัยนั้นว่า รูปพระเจ้าอู่ทอง นอกจากนั้นหน้าปราสาทยังมีเจดีย์ทองคำ ๒องค์อยู่ด้านหน้า โดยรอบฐานเจดีย์ทองมีรูปปั้นมารและลิงแบกฐานเจดีย์ทองอันสวยงามอยู่โดยรอบฐาน ด้านบนก่อนเข้าปราสาทยังมีรูปสัมฤทธิ์ครึ่งคนครึ่งกวางและอื่นอีกโดยรอบปราสาท รวมทั้งพระราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่๑,๒และ๓ประดิษฐานอยู่ด้วย
๓.หอพระนาก เป็นวิหารที่ประดิษฐานพระนาก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนสูง ๔เมตร หล่อด้วยนากที่อัญเชิญมาจากอยุธยา
๔.วิหารยอด (วิหารพระธาตุ)หลังสีขาวอันสวยงามที่มีบานประตูประดับมุกสมัยอยุธยาอยู่ทางทิศเหนือของวิหารยอด
๕.พระปรางค์ ๘องค์ อยู่นอกพระระเบียง๖องค์ภายใน๒องค์ พระปรางค์ทั้ง๘องค์นี้สร้างอุทิศถวายแด่ปูชนียบุคคลและวัตถุในพุทธศาสนามีชื่อตั้งแต่องค์ทางเหนือไปใต้ดังนี้คือ
๑.พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระพุทธองค์ ๒.พระสัทธัมปริยัติวรามหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระธรรม
๓.พระอริยสงคสาวกมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระสงฆ์ ๔.พระอริยสาวิกภิกสุนีสังคมมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระภิกษุณี (เจดีย์องค์ที่๓และ๔นี้อยู่ภายในพระระเบียงหน้าปราสาทพระเทพบิดร)
๕.พระปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ ถวายอุทิศแด่พระปัจเจกโพธิ คือบรรดาพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วไม่สั่งสอนใคร
๖.บรมจักวรรดิราชามหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระมหาจักรพรรดิ ๗.พระดพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่บรรดาพระโพธิสัตว์
๘.พระศรีอาริยเมตตะมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ผู้จะลงมาตรัสรู้ในอนาคต
ภายในพระมณฑปมีสิ่งสวยงามที่ควรเข้าชมและศึกษาอีกคือ
๑.นาคพลสิงห์กระไดแบบเก่า (หน้าเป็นมนุษย์ไม่ใช่งู) ๒.ยักษ์บนปลายสิงห์พล (ยักษ์ทวารบาล)
๓.ฐานปัทม์ ตลอดถึงผนังที่มีลวดลายงดงามที่สุด ๔.บานทวารประดับมุก งดงามเทียบเท่าพระอุโบสถ
๕.ตู้พระไตรปิฎก ทรงมณฑปประดับมุกอันงดงาม ๖.หอระฆัง
๗.ภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ รอบพระระเบียงวัด

1 comment:

  1. ขอขอบพระคุณข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากหนังสือประวัติวัดพระศรีรัตนศาสดารามของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ที่ทำให้ข้อมูลในบล็อกนี้สมบูรณืเป็นอย่างยิ่ง

    ReplyDelete